เครื่องปรุงรสอาหารภาคใต้

เครื่ีองปรุงรสในอาหารใต้

          น้ำบูดู  ได้จากการหมักปลาตัวเล็กๆ
กับเกลือเม็ดในโอ่ง  ไห  หรือถังซีเมนต์
ปิดฝาผนึกให้สนิท แล้วตากแดดทิ้งไว้้  2-3
เดือน หรือเป็นปีจึงนำมาใช้ได้  บูดูมีทั้ง
ชนิดหวาน  และชนิดเค็มชนิดหวานใช้คลุก
ข้าวยำปักษ์ใต้  ชนิดเค็มใช้ปรุงอาหารประเภท
น้ำพริก เครื่องจิ้ม

 

   พุงปลา  ได้จากากรนำพุงปลาทู หรือ
ปลาลังมารีดสิ่งสกปรกออก ใส่เกลือหมักไว้
้1  เดือนขึ้นไปแล้วจึงนำมาปรุงอาหาร

 

          เนื้อหนาง  คือ  การนำหัวของวัวไปย่างๆฟอ่อนๆ จนสุกทั่ว แช่น้ำทิ้งไว้
้  1  คืน  แล้วขูดส่วนที่ไหม้ออกจนขาวสะอาด  เลาะส่วนที่เป็นเนื้อมาเคล้ากับเกลือ
น้ำตาลปี๊บหมักไว้  2-3  คืน  จึงนำมาปรุงอาหารได้  เนื้อหนางอาจทำโดยใช้เศษ
เนื้อปนเอ็นหมักก็ได้เช่นกัน

 

     กุ้งแห้ง  คือ  การนำกุ้งที่ได้มาเคล้า
เกลือตากแดดให้แห้ง  เก็บไว้รับประทาน
ได้นานใช้เป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกง
หรือแกงต่างๆ

 

         กะปิกุ้ง  คือ  เครื่องปรุงรสที่นิยมใส่ในน้ำพริกต่างๆ  ช่วยให้มีกลิ่นหอม  ทำได้โดยการนำกุ้งมาหมักกักเกลือ  พักให้สะเด็ดน้ำนำไปตากแดดพอหมาด  บดจนมีเนื้อละเอียดบรรจุใส่ในโอ่ง (  อัดให้แน่น )  ประมาณ  3-4  เดือ ก็จะได้กะปิ
ิจากกุ้งมีกลิ่นหอม  เนื้อเหนียวละเอียด

 

         กะปิเคย คือ เครื่องปรุงที่ใส่ในส่วนผสมของน้ำพริกแกงเช่นเดียวกับ
กะปิกุ้งมีลักษณะเหมือนกันจนบางครั้งอาจแยกไม่ออก  ทำโดยการนำตัวเคย
( กุ้งที่มีขนานเล็กมาก )  มาหมักกับเกลือ  ตากแดด  แล้วบดให้มีเนื้อละเอียด  เช่นเดียวกับการทำกะปิจากกุ้ง  แต่มีกลิ่นหอมแตกต่างกัน อีกทั้งมีเนื้อที่
หยาบกว่ากะปิที่ทำจากกุ้ง  และมีเม็ดตาดำๆ  ของตัวเคยรวมอยู่ในเนื้อกะปิ

 http://www.isaansmile.com/thai_food/page5-1.html

ผักพื้นเมืองภาคใต้

  ผักพื้นเมืองที่นิยมรับประทาน

                  สะตอ  ลักษณะฝักคล้าย
ต้นหางนกยูงรับประทานเฉพาะเมล็ด
ในฝัก ใช้เป็นผักเหนาะหรือนำไปประกอบ
อาหารได้หลากหลายชนิด

 

       สะตอเบา  คือต้นกระถิน  รับประทานได้ทั้งยอดอ่อนและเมล็ด
ภายในฝัก

 

           ลูกเนียง  เป็นผลของ
ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในภาคใต้
มีเปลือกแข็ง  รับประทานเฉพาะ
เมล็ดข้างใน  กรอบมัน  ผลแก่จัด
นำไปต้มจนเนื้อเหนียว  คลุกเคล้า
กับมะพร้าวทึนทึกขูดผสมน้ำตาล
ทรายและเกลือ  รับประทานเป็น
อาหารว่าง

 

         ลูกเหรียง  หรือหน่อเหรียง  ลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต สีเขียว
กลิ่นฉุน  ใช้เป็นผักเหนาะ  หรือใส่ในแกงต่างๆ

 

        ยอดยาร่วง  คือ ยอดอ่อน
ของต้นมะม่วงหิมพานต์  มีรสเปรี้ยว
และฝาด ให้เป็นผักเหนาะกับ
น้ำพริก  หรือรับประทานกับขนมจีน
น้ำยา

 

         ยอดมะกอก  คือ ยอดอ่อนของต้นมะกอกน้ำ  มีรสเปรี้ยว

 

       หยวกกล้วยเถื่อน  คือ  แกนกลางของต้นกล้วย นำมาลวก
เป็นผักเหนาะ  หรือใส่ในแกงต่างๆ

 

          ออดิบ  คือ  ต้นคูนของ
ภาคกลาง  เวลาอาหารให้ลอก
เยื่อบางๆ ออกแล้วหั่นเป็นท่อน
คล้ายสายบัว

http://www.isaansmile.com/thai_food/page5-2.html

อาหารประจำภาคใต้

 อาหารประจำภาคใต้

         อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย  น่าลิ้มลอง  แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน    คือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด
เค็ม  เปรี้ยว  แต่ไม่นิยมรสหวาน  รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้ง

และพริกไทย  ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ   รสเปรี้ยว  ได้จากส้มแขก   น้ำส้มลูกโหนด
ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น

           เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่
ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจ
เรียกว่า ผักเกร็ด   ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับ
ภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ  แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกัน
เฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้  ชนิดของผักจะคล้าย ๆ กัน
หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้

 เมนูอาหาร

แกงไตปลา
แกงเหลืองมะละกอสับปะรด แกงขนุนอ่อน
ผัดสะตอกุ้งสด ข้าวยำปักษ์ใต้

http://www.isaansmile.com/thai_food/page5-3.html

ภูมิปัญญาอาหารภาคใต้

ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านภาคใต้

     ในอดีตชาวบ้าน และชาวเมือง ไม่ค่อยเดือดร้อน เจ็บป่วย มีปัญหาเรื่องสุขภาพจากอาหารการกิน เนื่องจากเป็นสังคมเกษตรธรรมชาติที่ปลอดเคมี จำพวกผักพื้นบ้าน สัตว์พันธุ์พื้นเมือง เรียกว่ามีความสมบูรณ์เรื่อง ข้าวปลาอาหาร และทรัพยากรธรรมชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า ในสวนมีผัก ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว การทำมาหากินหรือวิถีชีวิตอยู่แบบสบายสมดุล พอดี พอเพียงไม่ต้องแก่งแย่ง เบี้ย เงินทองไม่มีความหมาย ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น  สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น เสื้อผ้า หยูกยา อาหาร บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเอง ใช้เอง ปลูกเอง กินเอง หรือ หากินเองได้โดยแทบไม่ต้องปลูก หรือซื้อหา

   ปัจจุบัน สังคมโลกซับซ้อนขึ้น ผู้คนมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วกะทันหันไปแทบทุกเรื่อง จนหาราก และร่องรอยของตัวเองไม่เจอ และยิ่งนับวันจะหาร่องรอยความเป็นไทยแทบไม่เจอในยุคนี้ จะด้วยเหตุของสื่อกระแสหลักก็ดี หรือการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วไร้พรมแดนที่รวดเร็วและรุนแรง ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมของชุมชนจนส่งผลทำให้สุขภาวะของชุมชนเสื่อมโทรมลงดังที่พบเห็นในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ต่างคนต่างตั้งหน้าทำมาหาเงิน มากกว่าทำมาหากินอย่างแต่ก่อนเพราะ “เงิน” ถูกกำหนดให้เป็นตัวแทนในการจับจ่ายใช้สอยซื้อหาวัตถุสิ่งของต่างๆที่ผู้คนต้องการ ไม่ว่าเป็นอาหารการกิน เครื่องอำนวยความสะดวก ในขณะที่อีกกลุ่มคิดหนึ่ง มีวิธีคิดแบบ ทำเอง ใช้เอง แบบพอมีพอกิน อาศัยพึ่งพิงธรรมชาติ (ตามมีตามเกิด) เหลือแจกจ่ายให้ ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นการกุศล  อันเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนไทย ซึ่งวิถีแบบนี้ค่อยๆเลือนหายไปจากสังคมไทย หลังจาก “วัฒนธรรมต่างด้าว” เข้ามาปนแทรกอยู่ในสังคมไทย ซึ่งจริงแล้วยังมีบางกลุ่มคนที่บางทีคิดได้ ทำกิน หรือผลิตกินแบบไม่ใช้ทุน ไม่มุ่งเน้นที่ เงินตรา เป็นกลุ่มคิดที่ใช้วิธีการ แต่ไม่ใช้ทุนหรือที่เราเรียกว่า เป็น ภูมิปัญญาชุมชน เรื่องนี้เห็นได้ชัดอาหารการกินแบบสับเดะ (ละเมียดละไม พิถีพิถัน มีขั้นตอนในการทำ ใช้เวลา) กับชีวิตประจำวัน ให้ความสำคัญเรื่องอาหารการกินเพื่อสุภาพหรือคำนึงถึง เรื่องโภชนาการและเวชการ แบบภูมิปัญญาไทย

    

    แกงพื้นบ้านภาคใต้เนื่องจากมีรสจัด จึงต้องทอด(ใส่)ผักในแกงเพื่อลดความเผ็ด

อาหารพื้นบ้านทางภาคใต้ จะมีรสชาติโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปจะมี ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม และเผ็ด  กอรปกับภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล แต่ด้วยอาหารทะเลมักมีกลิ่นคาวจัด

  

ปลาทะเล ปลาน้ำจืดที่ชาวบ้านนิยม ใช้แกง ใช้คั่ว กับเครื่องแกงภาคใต้

อาหารภาคใต้จึงหนีไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะ ขมิ้น เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีแล้ว ยังเป็นสมุนที่ปรุงรส และช่วยสมานแผลในกระเพาะ-ลำไส้ได้อีกด้วยนับเป็นภูมิปัญญาทางด้านโภชนาการ และเวชการของคนใต้แขนงหนึ่ง จึงจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง

ขมิ้นสมุนไพร ที่เป็นเครื่องปรุงหลักของเครื่องแกงภาคใต้เพื่อลบคาวและสมานแผล

เมื่อมองในอีกด้านหนึ่งสิ่งเหล่านี้คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง นอกจากนี้ภาคใต้จะมีฝนตกชุกและมีช่วงฤดูฝนนานกว่าภาคอื่นๆของประเทศ ฉะนั้นจึงมีพืชผักที่ใช้เป็นอาหารต่างไปจากภาคอื่นๆ ถ้าอาหารนั้นไม่ใช้ผักเป็นเครื่องปรุงก็จะใช้ผักเป็นผักเหนาะ คือ ผักที่กินร่วมกับอาหารเพื่อความอร่อยและช่วยลดรสเผ็ดร้อนของอาหารเนื่องด้วยอาหารใต้จะมีรสเผ็ดร้อนกว่าทุกภาค

 

 

ผักเหนาะผักแนมพื้นบ้านภาคใต้ สำหรับใช้ใส่ในแกง และกินเพื่อลบคาวลบเผ็ด

แกง หมายถึง วิธีการปรุงอาหารที่มีส่วนผสมหลายสิ่งหลายอย่างรวมกับน้ำ และแกงในตำรับอาหารไทยแบ่งเป็น แกงจืด และแกงเผ็ด

แกงจืด เป็นแกงที่ต้องรับประทานร้อนๆจึงจะอร่อย ใส่น้ำมากกว่าแกงเผ็ด โดยใช้น้ำประมาณ ๓ ใน ๔ ส่วนของเนื้อ เช่น เนื้อ ๑ ส่วนน้ำ ๓ ส่วน เนื้อในที่นี้หมายถึง เครื่องปรุงที่เป็นเนื้อสัตว์และผัก

ส่วนแกงเผ็ด ยังแยกออกไปได้อีกหลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงเผ็ด แกงคั่ว ฯลฯ เป็นเครื่องแกงพื้นบ้านภาคใต้ที่ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงเป็นเครื่องแกงและเครื่องแกงดังกล่าวข้างต้น หากเป็นเครื่องแกงตำมือ ก็จะได้เครื่องแกงที่ปรุงขึ้นมาอย่างมีสรรพคุณทางโภชนาการและเวชการตรงตามตำราภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ ที่บรรพบุรุษได้คิดค้น สั่งสม และสืบทอดกันมาหลายชั่วคน

   ๑. แกงส้ม แกงส้ม เป็นแกงที่นิยมรับประทานในครอบครัวของคนไทย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานนิดหน่อย ใช้ผักที่มีตามท้องถิ่นนั้นๆ ผักที่นิยมใช้แกงส้ม เช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด ดอกแค กะหล่ำปลี หน่อไม้ดอง ฯลฯส่วนเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้กับแกงส้ม มีปลา กุ้งน้ำจืด และกุ้งน้ำเค็ม บางทีก็ใช้หอยแทนกุ้ง แกงส้มเป็นแกงที่ปรุงรสสามรสน้ำแกงที่ให้รสชาติอร่อยพอดีทั้งสามรสจะทำได้ยากกว่าแกงชนิดอื่นไม่เปรี้ยวจนเกินไปหรือเค็มขึ้นหน้าหรือมีรสหวานนำควรปรุงให้กลมกล่อมทั้งสามรส เช่น แกงส้มผักกระเฉดกับปลาช่อน แกงส้มดอกแคกับกุ้ง แกงส้มแตงโมอ่อน แกงส้มผักรวม ฯลฯ

เครื่องแกงส้มตำมือภาคใต้

 สูตรเครื่องแกงส้มพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบด้วย

พริกขี้หนูสด ๑๐ ส่วน  กระเทียม ๔ ส่วน  และ ขมิ้น ๔ ส่วน

 วิธีทำแกงส้มให้อร่อยเริด

๑. นอกจากตัวเครื่องแกง ที่มีความสำคัญแล้ว ขั้นตอนการปรุง และสัดส่วน ระหว่างน้ำแกงกับผัก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในอันที่จะทำให้แกงส้มได้อร่อย เริ่มตั้งแต่ตั้งน้ำในหม้อ ต้องให้น้ำเดือดก่อนถึงใส่พริกแกง (น้ำแกงจะได้หอม) หลังจากใส่น้ำพริกแกง ลงไปแล้วให้ใช้ไฟกลาง ให้น้ำพริกแกงเดือดสักครู่ใหญ่ ถ้ารีบใส่ผักกับเครื่องอื่นๆลงไป จะได้แกงส้มที่มีรสเผ็ดแบบแผดๆไม่กลมกล่อม

๒.   หลังจากเคี่ยวน้ำพริกแกงสักครู่แล้ว จึงใส่ผักลงต้มจนผักสุกนุ่ม จึงใส่เนื้อปลาหรือกุ้ง ยกเว้น กรณีแกงส้มผักกระเฉด ให้ใส่ปลาปรุงรส รอจนน้ำเดือด จึงใส่ผักกระเฉดเป็นอันดับสุดท้าย แล้วปิดเตาทันที เพราะผักกระเฉด หากถูกความร้อนนานจะเหนียว ทานไม่อร่อย

      แกงส้มปลา ควรใช้ปลาที่สดใหม่ ยังไม่แช่เย็น จะได้เนื้อปลาที่นุ่ม อร่อย ไม่ยุ่ย ถ้ากลัวว่าแกงแล้วจะคาว ให้นำปลาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ นำไปลวกครั้งหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำไปแกง แต่ถ้าปลาไม่ค่อยสด หรือเป็นปลาแช่เย็น แนะนำให้นำไปทอดก่อน ให้พอเหลือง แล้วค่อยนำมาแกงจะดีกว่า เคล็ดลับสุดยอด ถ้าอยากได้ แกงส้มที่มีน้ำเข้มข้น ให้ผสมเนื้อปลา ลงในน้ำพริกแกงก่อนนำไปแกง มีวิธีการตามนี้นะคะ นำเนื้อปลาที่จะใช้ แบ่งออกมาเล็กน้อย นำไปต้มจนสุก จากนั้นแยกก้างออก นำไปโขลกในครกให้เนื้อปลาแตก จากนั้น ใส่น้ำพริกแกงส้ม ที่เตรียมไว้ลงไปโขลกรวม แล้วจึงนำไปแกง ตามขั้นตอนปรกติ จะได้น้ำแกง ของแกงส้มที่เข้มข้นขึ้น

   . แกงเผ็ด แกงเผ็ดเป็นแกงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แกงเผ็ดถือเป็นแม่แกงของแกงอื่นๆ ต้องใช้เนื้อสัตว์ในการปรุงเป็นหลัก มีผักเป็นส่วนประกอบ แกงเผ็ดถือเป็นแม่แกงของแกงอื่นๆ โดยเปลี่ยนสมุนไพรบางอย่าง กลายเป็นแกงต่างๆ เช่น เพิ่มพริก และแกงไม่ใช้กะทิจะเป็นแกงป่า สามารถใช้แกงเผ็ดผสมกับกะทินึ่งกับสัตว์ทะเลซึ่งจะมีรสชาติอร่อย เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาประกอบได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ กุ้ง ปลา ส่วนผักจะใช้ มะเขืออ่อน มะเขือพวง ถั่วฝักยาว หน่อไม้ ฯลฯ ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าสีต่างๆ ใบมะกรูด ใบโหระพาปรุงรสด้วยน้ำปลา ให้ความเค็ม มีน้ำตาลเล็กน้อย เพราะแกงเผ็ดได้ความหวานจากกะทิ แกงเผ็ดสำคัญอยู่ที่การปรุงน้ำพริก ต้องปรุงให้ถูกส่วน โขลกน้ำพริกให้ละเอียดเช่นแกงเผ็ดเนื้อไก่หมูกุ้งเนื้อ ปลากราย แกงเขียวหวาน ฯลฯแกงเผ็ดแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ แกงเผ็ดที่ไม่ใส่กะทิ เรียกว่า แกงป่า และแกงเผ็ดที่ใส่กะทิ จะใช้พริกแห้งมีสีแดง เรียกว่า แกงเผ็ด ถ้าใช้พริกสดสีเขียวเรียกว่า แกงเขียวหวาน และ ลักษณะจะมีน้ำแบบขลุกขลิก หรือแห้งๆปรุงรส เค็ม หวานนิดหน่อย เช่น ผัดเผ็ดกบ ผัดเผ็ดปลากราย ผัดเผ็ดหมูป่า

      ผัดเผ็ดพะแนง ก็มีลักษณะเหมือนแกงเผ็ด เป็นอาหารที่จัดอยู่ในจำพวกแกงเผ็ด ส่วนพะแนง เนื้อสัตว์ที่ใช้ต้องเคี่ยวให้นุ่มการปรุงรส มีรสหวาน เค็ม พอดี ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าสด ใบมะกรูด ใบโหระพา

  

เครื่องแกงเผ็ดตำมือภาคใต้   ผัดเผ็ดกุ้งกับถั่วฝักยาว  และแกงฉู่ฉี่ปลาทู

สูตรเครื่องแกงเผ็ดภาคใต้ ประกอบด้วย 

                  พริกขี้หนูสด ๑๐ ส่วน  กระเทียม ๑๐ ส่วน  ตะไคร้ ๑๐ ส่วน 

                   ขมิ้น ๑๐ ส่วน   พริกไทย  ๕  ส่วน  ข่าสด  ๔  ส่วน 

   . แกงคั่ว  แกงคั่ว เป็นแกงพื้นบ้าน ที่มีผักเป็นส่วนประกอบ เป็นแกงที่ต้องใช้เนื้อสัตว์ประเภทปลาย่าง ปลากรอบ หรือกุ้งแห้งอย่างใดอย่างหนึ่งโขลกผสมกับเครื่องแกง เพื่อทำให้น้ำแกงข้น มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แกงคั่วจะไม่ใส่เครื่องเทศจะทำให้มีกลิ่นฉุน ผักที่นิยมใส่แกงคั่ว เช่น ผักบุ้ง สับปะรด เห็ด ฟักเขียว แกงคั่วจะใช้ผักเป็นหลัก ส่วนเนื้อ ปลา กุ้ง หอย เป็นส่วนประกอบ รสชาติของแกงคั่วทั่วๆ ไปมี ๓ รส คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม แต่แกงคั่วบางชนิดจะมีสองรสคือ เค็มกับหวาน เช่น แกงคั่วเห็ด หรือแกงที่มีลักษณะคล้ายแกงคั่วแต่มีรสชาติออกเค็มอย่างเดียว เช่น แกงขี้เหล็ก แกงป่าชนิดต่างๆ เช่น แกงป่าปลาดุก แกงป่าเนื้อ แกงป่าปลาสับ แกงป่าไก่ ฯลฯ น้ำแกงสีแดงน้อยกว่าแกงเผ็ด ไม่มีน้ำมันลอยหน้า เพราะไม่ผัดน้ำพริกและเครื่องปรุงน้ำพริกก็ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิเคี่ยวไม่ให้แตกมันมากนัก ถ้าเป็นแกงที่ใช้ผักที่มีรสเปรี้ยวจะไม่ใส่น้ำส้มมะขาม แต่ถ้าผักที่ใช้ไม่มีรสเปรี้ยวก็จะใส่น้ำส้มมะขามเพื่อให้ได้รสเปรี้ยว ถ้าไม่ชอบหวานก็ไม่ต้องใส่น้ำตาลให้มีเฉพาะรสหวานของปลาและกะทิ แกงคั่วที่มีรสเปรี้ยว เรียก “แกงคั่วส้ม”  สำหรับแกงคั่วที่ไม่ใส่รสเปรี้ยวของน้ำส้มมะขาม เรียก “แกงคั่ว” แกงคั่วที่นิยมรับประทานและมีรสอร่อย ได้แก่ แกงคั่วหอยขม แกงหมูเทโพ แกงคั่วสับปะรดกับหอยแมลงภู่ แกงคั่วมะระ (ใช้มะระจีนหรือมะระขี้นก) แกงคั่วปลาดุกย่าง ถ้าไม่มีปลาดุกย่างให้ใช้ปลากระแบนแทนแกงคั่วเห็ด แกงคั่วลูกตำลึงอ่อน แกงคั่วหน่อไม้ดองหรือหน่อไม้สดกับปลาช่อน (อาจใช้กุ้ง หมู หรือไก่ แทนปลาก็ได้) แกงคั่วมะรุมกับปลาย่าง หรือปลากรอบ แกงคั่วยอดมะพร้าวอ่อนหรือหัวลูกโหนดอ่อน แกงคั่วใบมะขามอ่อนกับปลาย่าง(ใบมะขามอ่อนมีรสอมเปรี้ยวอยู่แล้ว)วิธีแกงคั่วให้อร่อย สำหรับแกงคั่วหอยหรือปลา ใช้ใบมะกรูดเด็ดเป็นใบๆ หรือหั่นฝอยลงในน้ำแกงเพื่อดับกลิ่นคาว

 

เครื่องแกงคั่วตำมือภาคใต้          และแกงคั่วเนื้อ

สูตร เครื่องแกงคั่วภาคใต้ ประกอบด้วย

      พริกขี้หนูสด ๕ ส่วน     กระเทียม ๕ ส่วน         ขมิ้น ๕ ส่วน

      พริกไทย  ๒ ส่วน          ตะไคร้ ๒ ส่วน             ข่าสด ๔ ส่วน               

เครื่องแนมกับอาหารภาคเหนือ

เครื่องแนมที่คนภาคเหนือนิยมรับประทานร่วมกับอาหารต่าง ๆ ได้แก่ 

หนังปอง           หนังปอง  คือ  การนำหนังควาย
มาเผาจากนั้นแช่น้ำเพื่อขูดผิวสีดำออก  ตัดส่วนแข็งทิ้งไป  ตากแดดให้แห้ง  แล้วนำแผ่นหนังที่ได้ไปปิ้งไฟจนอ่อนตัว
ใช้มีดตัดเป็นเส้นไม่ให้ขาดจากกัน
นำไปต้มโดยใช้ไฟอ่อนๆ จนมีสีเหลือง
เก็บไว้รับประทานได้นานเมื่อจะรับประทาน
นำไปทอดในน้ำมันโดยใช้ไฟกลาง
จนหนังพอง

 

          น้ำหนัง  คือ การนำหนังควายมา
เผาไฟจนไหม้ดำ แช่ในโอ่งน้ำแล้วขูด
ส่วนที่ไหม้ออกต้มในปี๊บ
(หาภาชนะปิดไว้เพื่อไม่ให้หนังลอยเหนือผิวน้ำ)
ต้มจนน้ำละลายเป็นน้ำข้นๆ  ยกลง  กรองผ่านกระชอนไม้ไผ่  หรือจะผสมงา
ก่อนก็ได้  ผึ่งในที่ร่มจนแห้ง  ลอกออก เก็บใส่ภาชนะซึ่งมีฝาปิดสนิท  นิยม
รับประทานร่วมกับแกงต่างๆ  โดยนำไป
ปิ้งไฟอ่อนๆ
น้ำหนัง

 

แคบหมู          แคบหมู  คือ  การนำหนังหมูมา
กรีดมันออกให้เหลือมันติดเล็กน้อยเคล้ากับ
เกลือผึ่งแดดจนน้ำมันแห้งตัดเป็นชิ้น
เล็ก ๆ แล้วทอดกับน้ำมันในกระทะ
( ใช้ไฟอ่อน )  จนหนังพองเป็นเม็ดเล็กๆ  ตักขึ้นใส่กระทะอีกใบที่มีน้ำมันร้อนจัด  ทอดหนังหมูพองทั่วเท่ากัน  ตักขึ้นพักให้
สะเด็ดน้ำมัน รับประทานแนมกับน้ำพริก
ต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม  เป็นต้น

 

          ไข่มดส้ม  คือ  การนำ
ไข่มดแดงมาดองกับน้ำเกลือ  ใช้ทำ
ยำหรือใส่ในแกงต่างๆ
ไข่มดส้ม

 

 http://www.isaansmile.com/thai_food/page4-1.html

เครื่องปรุงอาหารภาคเหนือ

  เครื่ีองปรุงรสในอาหารเหนือ

        ปลาร้า  คือ  การนำปลาร้าหมักกับเกลือ
พักไว้  3-4  เดือน  (  หรือมากกว่านั้น )  ใช้ปรุงรสอาหารต่างๆ  หลากหลายชนิด
ปลาร้า

 

ถั่วเน่าแผ่น           ถั่วเน่าแผ่น  (  ถั่วเน่าแค่บ )  คือ  การนำถั่งเหลืองต้มสุกมมาหมักกับเกลือ
จนนุ่ม  โม่ให้ละเอียด  ละเลงเป็นแผ่น  ตากแดนให้แห้ง  ใช้เป็นเครื่องปรุงรส
แทนกะปิ

 

          ถั่วเนาเมอะ  คือ  ถั่งเหลืองที่
ี่ ต้มแล้วหมักกับเกลือ  จากนั้นห่อ
ใบตองเก็บไว้  ช่วยให้มีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น  ใช้สำหรับทำน้ำพริก  ใส่ในผักต่างๆ  หรือปิ้งแล้วรับประทานกับข้าวเหนียว
ร้อนๆ
ถั่วเน่าเมอะ

 

มะแข่น        มะแข่น  เป็นเครื่องเทศทางภาค
เหนือลักษณะเป็นเม็ดกลมติดกันเป็นพวง
เปลือกสีน้ำตาลอ้าออก  มีเมล็ดด้านใน
สีดำ  กลิ่นหอม  รสเผ็ดเล็กน้อย

 

          มะแหลบ  เมล็ดแบนรี  สีน้ำตาล  กลิ่นหอมกว่ามะแข่น มะแหลบ

 

ดอกงิ้ว           ดอกงิ้ว  คือ  ดอกของต้นงิ้วทาง
พื้นเมืองภาคเหนือ  เป็นส่วนผสมสำคัญ
ในการทำขนมจีนน้ำเงี้ยว

http://www.isaansmile.com/thai_food/page4-2.html

ผักพื้นเมืองภาคเหนือ

ผักพื้นเมืองที่นิยมรับประทาน

         เห็ดเผาะ  เป็นเห็ดที่หา
รับประทานได้ยาก นิยมนำมา
แกงกับกะทิ
เห็ดเผาะ

 

         ดอกแก  คือดอกแค  ที่คนเหนือนิยมรับประทานกันมี
สองสี  คือ  แคขาวและแคแดง
ใช้ใส่ในแกงหรือต้มจิ้มน้ำพริก

 

           ผักหวานป่า  นิยมนำไป
จิ้มน้ำพริก  หรือใส่ในแกงอ่อมและ
แกงผักหวาน
ผักหวานป่า

 

บ่าขนุน           บ่าหนุน   คือ  ขนุนอ่อน  ที่ปอกเปลือกแล้ว  หั่นเป็นชิ้น
ตามขวาง  ใช้ใส่ในแกงหรือต้ม
จิ้มน้ำพริก

 

          ใบชะพลู  ภาคเหนือเรียก
ผักแค  หรือผักปูนก  ( ปูนา )
มีกลิ่นหอม  รสเผ็ดเล็กน้อย  นิยมนำมารับประทานกับเมี่ยงหรือ
ใส่ในแกงแค
     ใบชะพลู

 

ผักปลัง         ผักปลัง  ภาคเหนือ
เรียกว่า  ผักปั่ง  รับประทานได้ทั้ง
ยอดอ่อนและดอกอ่อน  ใช้เป็นผัก
ลวกหรือต้มจิ้มน้ำพริกและใส่ใน
แกงต่างๆ

 

         พริกหนุ่ม เป็นพริกทางเหนือ
ลักษณะยาวเรียว  มีสีเขียวอมเหลือง
พริกหนุ่ม

 

ตูนคือต้นคูน        ตูน  คือต้นคูน  ลักษณะต้น
คล้ายบอน  แต่มีเปลือกสีเขียวนวล  เนื้อตูนจะมีสีขาว  เนื้อฟ่าม  กินสดได้

http://www.isaansmile.com/thai_food/page4-3.html

อาหารประจำภาค เหนือ

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักร
แห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดน
ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามา
ในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย 
อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น
น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู
และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล
ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำุ์
พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน
ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน

   

.... ....ไส้อั่ว ..….......... .....น้ำพริกหนุ่ม.... ....……..…….. แคบหมู …….... .....…..... .....แกงแค

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน
เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง 

มีสำรับอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น
แกงอ่อม ถือเป็นอาหารยอดนิยมอย่างหนึ่งในบรรดาอาหารเหนือทั้งหลาย โดยเฉพาะในเทศกาลงานเลี้ยง
โอกาสพิเศษต่าง ๆ แกงอ่อมเป็นแกงที่ใช้เนื้อได้ทุกประเภท เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ื้ 
 ..  .. ..แกงอ่อมไก่ .. …... แกงอ่อมเครื่องในหมู .... .แกงอ่อมหมู
ข้าวซอย เป็นอาหารของไทลื้อ ที่นำมาเผยแพร่ในล้านนาหรือภาคเหนือ ตามตำรับเดิมจะใช้พริกป่นผัด
โรยหน้าด้วยน้ำมัน เมื่อมาสู่ครัวไทยภาคเหนือก็ประยุกต์ใช้พริกแกงคั่วใส่กะทิลงไปกลายเป็น
เคี่ยวให้ข้น ราดบนเส้นบะหมี่ ใส่เนื้อหรือไก่ กินกับผักกาดดอง หอมแดงเป็นเครื่องเคียง
 .. .... ....ข้าวซอยไก่ .. .. .. .. ..ข้าวซอยลูกชิ้น

 

แกงโฮะ คำว่า โฮะ แปลว่า รวม แกงโฮะก็คือแกงที่นำเอาอาหารหลายอย่างมารวมกัน
สมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารหลายอย่างที่เหลือจากงานบุญมาผัดรวมกัน 
แต่ปัจจุบันใช้เครื่องปรุงใหม่ทำก็ได้หรือจะเป็นของที่ค้างคืนและนำมาปรุงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
แกงโฮะเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายมีขายกันแทบทุกร้านอาหารพื้นเมืองในภาคเหนือ
 
ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือขนมเส้นหมากเขือส้ม เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทใหญ่ เดิมใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว
เป็นหลัก ต่อมาคนพื้นเมืองดัดแปลงมาใช้เส้นขนมจีนแทน กินกับถั่วงอก ผักกาดดอง
เพิ่มรสชาติความอร่อยยิ่งขึ้น 
 
แกงฮังเล เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไทใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลมาจากอาหารพม่า
ในอดีต เป็นแกงที่ทำได้ง่าย ใส่พริกแห้ง ผงแกงฮังเล มะเขือเทศ และเนื้อ แล้วนำมาผัด
รวมกัน
 .. .. .แกงอังเลหมู  ……….. ....แกงฮังเลเนื้อ
น้ำพริกอ่อง เป็นน้ำพริกขึ้นชื่อของภาคเหนือ ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่องคือ มีสีส้มของมะเขือเทศ
และพริกแห้ง การกินน้ำพริกอ่องต้องมีผักจิ้ม เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว
แตงกวา 
 .. …...
อาหารทุกชนิดจะรับประทานร่วมกับข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่งใส่ในกระติ๊บข้าว อาหารอื่น ๆ 
ใส่ในถ้วย อาหารทั้งหมดจะนำไปวางบนขันโตก ซึ่งเป็นภาชนะใส่อาหารที่ทำจากไม้สักกลึงให้ได้รูป
ขนาดพอดีกับการนั่งรับประทานบนพื้นบ้าน

   

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือล้วนผ่านการปรุงแต่ง ดัดแปลงทั้งรสชาติและวัตถุดิบจากพื้นบ้านและ
จากกลุ่มชนต่าง ๆ เป็นสำรับอาหารทางวัฒนธรรมของภาคเหนือที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในหมู่
คนไทยและชาวต่างชาติ

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/__80.html

วิธีการหุงข้าวเหนียวและนึ่งข้าวเหนียว


ข้าวเหนียวช่วยบำรุงผิวพรรณสร้างสารอาหารให้ร่างกายเพิ่มสมรรถภาพการทำงาน
ของกระเพราะ ข้าวเหนียว เป็นธัญพืชที่รองลงมาจากข้าวที่คนเรานิยมรับประทานกัน
เพราะให้ความเหนียว ความมัน มีรสชาติที่น่ารับประทาน ความเชื่อของคนโบราณเชื่อว่า ข้าวเหนียวเป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้ ซึ่งมีทั้งข้าวใหม่และข้าว ข้าวใหม่มีคุณสมบัติ
ออกฤทธิ์ร้อน นิยมปลูกในนาลุ่มที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์หรืออาจจะปลูกในที่ดอนก็ได้ที่
ี่เรียกว่าข้าวไร่ทางภาคเหนือ

          พันธุ์ของข้าวเหนียวมีอยู่ด้วยกันหลาย
สายพันธุ์ แต่ที่คนส่วนใหญ่เห็นจะมีอยู่สองสี
คือ ข้าวเหนียวที่มีสีขาวและข้าวเหนียวดำ
ข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวเร็วเม็ดจะแข็งกว่าข้าวเหนียว
ที่เก็บเกี่ยวช้า แต่คนโบราณจะนิยมนำข้าวเหนียว
ที่เก็บได้ใหม่หลังจากที่สีแล้วไปฝากกัน ซึ่งทำ
ให้ผู้รับรู้สึกว่าเหมือนกับตัวเองได้ทำนาเองและมี
ีความปราบปลื้มใจมาก ถึงแม้ว่าจะมันจะไม่เยอะ
ก็ตาม
    ข้าวเหนียว

การหุงต้มข้าวเหนียวจะทำเช่นเดียวกับข้าวสารไม่ได้เพราะข้าวเหนียวมี
ความแน่นมากกว่า ในการหุงต้มจึงนำข้าวเหนียวแช่น้ำเสียก่อน ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง หากมีความต้องการที่จะใช้ในเวลารวดเร็วใช้น้ำอุ่นแช่ การนำสารส้มเพียงเล็กน้อยมาใส่
ลงในข้าวเหนียวขณะที่แช่ จะช่วยให้ข้าวเหนียวขาวสะอาดขึ้น

ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะหุงข้าวเหนียวด้วยการนึ่ง ซึ่งต้องแช่ข้าวเหนียวค้างคืนก่อน หรือถ้าแช่น้อยกว่านี้ข้าวเหนียวจะไม่ค่อยนิ่มนัก บางครั้งที่เร่งรีบ มีเวลาน้อย หิวจัด และยิ่งเป็นมื้ออาหารที่ต้องมีข้าวเหนียวร่วมวงด้วย การหุงข้าวเหนียวด้วยหม้อหุงข้าวก็
เป็นทางออกที่ดีทีเดียวค่ะ วันนี้เมย์จึงขอนำเสนอการหุงข้าวเหนียวด้วยวิธีนี้ค่ะ สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้ค่ะ

        ◊ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
◊ ข้าวเหนียวดิบ
◊ กะละมังสำหรับล้างข้าวเหนียวดิบ
◊ น้ำเปล่า
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

วิธีหุง

1. ข้าวเหนียวดิบ กระป๋อง
2. ตวงข้าวสารใส่กะละมัง เลือกเศษสิ่งที่ไม่ต้องการออกให้หมด ล้างด้วยน้ำเปล่า ๒-๓      ครั้ง
3. เทข้าวเหนียวที่ล้างแล้วใส่หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ไม่ต้องแช่ข้าวเหนียวนะคะ      ปริมาณน้ำที่ใช้ : ในปริมาณข้าวเหนียวและข้าวจ้าวที่เท่ากัน ให้ใส่น้ำน้อยกว่าการหุง
ข้าวจ้าวครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่าครึ่งเล็กน้อย เช่น ถ้าตอนที่หุงข้าวจ้าวใช้น้ำ ๔ ถ้วยตวง      การหุงข้าวเหนียวก็ให้ใส่น้ำเปล่าแค่ ๒ ถ้วยตวง หรือ ๒.๒๕ ถ้วยตวงเท่านั้นค่ะ ทั้งนี้      ขึ้นอยู่กับชนิดของข้าวเหนียวว่าเป็นข้าวใหม่หรือข้าวเก่าด้วยค่ะ  ถ้าข้าวเหนียวใหม่
จะใช้น้ำน้อยกว่าปกติเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นข้าวเหนียวเก่า ให้ใช้น้ำมากกว่า
ปกติเล็กน้อยค่ะ
4. เสร็จแล้วเช็ดมือให้แห้ง เสียบปลั๊กหม้อหุงข้าว ที่สำคัญอย่าลืมกดปุ่ม Cook ด้วยนะคะ      ไม่เกิน ๑๕ นาที ได้กินข้าวเหนียวสุกร้อนๆค่ะ

เราจะเห็นได้ว่าคนภาคอีสานส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานข้าวเหนียวกันมากกว่า
ข้าวเจ้า เพราะข้าวเหนียวรับประทานแล้วจะรู้สึกอิ่มท้องมากกว่าและอยู่ได้นาน แต่การ
รับประทานมากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการไฟธาตุพิการได้ง่าย ผู้สูงอายุไม่ควรที่จะ
รับประทานข้าวเหนียวให้มากเพราะจะทำให้ติดคอได้

ข้าวเหนียวสามารถแปรรูปไปเป็นอาหารอื่นได้ส่วนใหญ่จะทำเป็นขนมมากกว่า
เช่นเทศกาลตรุษจีนก็ทำขนมแข่ง เทศกาลออกพรรษาคนในสมัยก่อนก็จะทำ
ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มผัด ข้าวหลาม ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวนึ่งกินกับส้มตำ หรืออื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากข้าวเหนียวจะมีประโยชน์ทางด้านอาหารแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ด้วยเช่น บำรุงร่างกาย  ช่วยขับลมในร่างกาย  สร้างสารอาหาร  เสริมสมรรถภาพ
กระเพาะอาหาร

ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนขึ้นโดยการนำข้าวสารแช่ให้นุ่มแล้วโดยปั่นในเครื่องปั่น
ผสมกับใบตำลึงอ่อน สัดส่วน 1 ต่อ 1 นำมาพอกกับผิวหน้า ผิวกาย ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นช่วยลดริ้วรอย จุดด่างดำ ให้ค่อยๆ จางหายไป ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าก็มีประโยชน์กับร่างกายเหมือนกัน                   ถ้าเรารู้จักถึงคุณค่าและรู้จักที่จะนำไปแปรรูปให้เกิดประโยชน์

 

วิธีนึ่งข้าวเหนียวให้นุ่ม

ส่วนผสม

1. ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม
2. เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาดพอท่วม
4. ใบเตย 2-3 ใบ

วิธีการทำ

1. นำข้าวเหนียวที่ได้ไปทำการล้างน้ำให้สะอาด โดยล้างประมาณ 2 น้ำ
2. เติมน้ำสะอาดลงไปให้พอท่วม ตามด้วยเกลือ 1 ช้อนโต๊ะที่เตรียมไว้
3. หลังจากนั้นแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ก็สามารถนำไปนึ่งได้

** ก่อนนึ่งข้าวเหนียวให้รองก้นหวดด้วยใบเตยประมาณ 2-3 ใบ จะช่วยให้ข้าวเหนียวมีกลิ่นหอมของใบเตยน่ารับประทาน

** การนำข้าวเหนียวแช่น้ำเกลือ ก่อนนำไปนึ่งนั้น จะช่วยลดระยะเวลาในการแช่ข้าวเหนียวได้ ซึ่งปกติแล้วถ้าไม่ใส่เกลือจะต้องใช้ระยะเวลาในการแช่ข้าวเหนียวประมาณ 1 คืน แต่เมื่อเติมเกลือลงไป แช่แค่ 1 – 2 ชั่วโมง ก็จะทำให้ข้าวเหนียวนุ่มน่ารับประทานขึ้น

http://www.baanmaha.com/community/thread30891.html

http://www.isaansmile.com/thai_food/page3-1.html

เครื่องปรุงอาหารภาคอีสาน

เครื่ีองปรุงรสในอาหารอีสาน

           ปลาร้า  เมื่อสมาชิกในครอบครัว
ออกไปหาปลามารับประทาน  ถ้ามีเหลือมาก
เกินไปก็จะนำมาทำเป็นปลาร้ารับประทานเอง
หรือนำมมาตากแห้ง เป็นการถนอมอาหาร
ไว้รับประทานได้นานยิ่งขึ้นในยามที่ขาดแคลน
ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงที่ใส่ในอาหารที่ทำให้สุก
โดยการผัด
ปลาร้า

 

ข้าวเบือ           ข้าวเบือ ใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร
หลากหลายอย่าง เช่น แกงหน่อไม้ใบย่านาง
แกงอ่อม ทำได้โดยการนำข้าวเหนียวดิบมา
แช่น้ำจนเมล็ดข้าวอ่อนนุ่ม พักให้สะเด็ดน้ำ
แล้วโขลกจนละเอียด  การใส่ข้าวเบือลงใน
แกงต่างๆ  ก็เพื่อให้อาหารมีความเข้มยิ่งขึ้น

 

          ข้าวคั่ว  นิยมใส่ในอาหารหลากหลายชนิด
ไม่ว่าจะเป็นลาบ  น้ำตก  หรือยำต่างๆ  ทำให้
อาหารมีกลิ่นหอม  น่ารับประทาน  เตรียมได้
โดยการนำข้าวเหนียวหรือข้าวสารใหม่มาคั่วใน
กระทะ ใช้ไฟอ่อนๆ  จนเมล็ดข้าวมีสีเหลืองอม
น้ำตาล พักพอเย็นตัวแล้วโขลกจนละเอียด
ไม่ทำเก็บไว้นานหลายวัน เพราะกลิ่นหอมจะ
ลดน้อยลงและอาจทำให้รสของอาหารเพี้ยน
ไปด้วย
ข้าวคั่ว

 

พริกป่น           พริกป่นเป็นเครื่องปรุงที่ใส่ในอาหาร
เกือบทุกชนิด  เพราะคนส่วนใหญ่ชอบ
รับประทานอาหารที่เผ็ดจัดจ้าน นิยมทำเอง
ในครัวเรือนโดยนำพริกขี้หนูมาตากแห้งแล้ว
คั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อนจนมีกลิ่นหอมฉุน
พักให้เย็นโขลกพอละเอียด  เก็บใส่ภาชนะมี
ฝาปิดสนิทไว้ได้นานหลายเดือน

 

http://www.isaansmile.com/thai_food/page3-2.html